เมนู

3. อธิปติปัจจัย


[386] 1. อาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาสวสัมปยุตตธรรมให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาสวสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. อาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสววิปปยุตต-
ธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
อธิปติธรรมที่สหรคตด้วยโทมนัส เป็นปัจจัยแก่โมหะ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. อาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวสัมปยุตต-
ธรรม และอาสววิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
อธิปติธรรมที่สหรคตด้วยโทมนัส เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โมหะ
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
4. อาสววิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสววิปปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว พิจารณา.
กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรค ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอาสววิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

5. อาสววิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทาน ฯลฯ ศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น กระทำกุศลกรรมนั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาสววิปปยุตตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[387] 1. อาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาสวสัมปยุตตธรรม ที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาสวสัมปยุตตธรรม ที่เกิดขึ้นหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. อาสวสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสววิปปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย